ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า LPG กับ NGV นั้น
แม้จะมีสถานะเป็นก๊าซเหมือนกัน
แต่การใช้งานก็มีความแตกต่างกันอยู่ไม่น้อยในรายละเอียด
LPG หรือ ปิโตรเลียมเหลว คือ ก๊าซบิวเทน หรือบิวเทนผสมโพรเพน
NGV รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “ก๊าซธรรมชาติเติมรถยนต์” นั้น คือ ก๊าซมีเทน
การได้มาของก๊าซ LPG ก็เหมือนน้ำมันเชื้อเพลิงอื่นๆ คือ
ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมัน หรือการแยกก๊าซธรรมชาติ
ในขั้นตอนการกลั่นน้ำมัน หลักการง่ายๆ ก็คือ นำน้ำมันดิบมาให้ความร้อน
เชื้อเพลิงก็จะถูกแยกออกไปตามจุดเดือด ก๊าซ LPG เป็นน้ำมันชนิดเบา จะแยก
ออกมาก่อน และเรียงไปตามลำดับจุดเดือดตามมาด้วยแก๊สโซลีนผสมจากเบาไป
หากลางก็จะได้น้ำมัน Jet น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล และต่อมาน้ำมันชนิดหนักก็คือ
น้ำมันเตา ยางมะตอย ก็จะออกมาตอนท้ายสุด
LPG น้ำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง
และเป็นเชื้อเพลิงที่เผาไหม้หมดจด ให้พลังงานความร้อนดี เมื่อนำมาให้ความเย็น
ที่ลบ 50 องศาเซลเซียส ก็จะเปลี่ยนสถานะไปอยู่ในรูปของเหลว สามารถอัดลง
ถังเก็บด้วยแรงดันไม่มากนัก คือ 100 - 130 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (PSI) ทำการ
ขนส่งไปขายตามบ้านได้สะดวก
แต่จะนับว่าเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชั้นดี ก็ยังไม่สะดวกปากเพราะมีข้อจำกัด
อยู่เหมือนกัน ก็ LPG นั้นหนักกว่าอากาศ หากเกิดรั่วไหลจะเป็นอันตราย
เพราะมันจะรวมตัวกันอยู่ที่พื้น หากมีประกายไฟขึ้นล่ะก็ ตูม!
แต่เหตุผลที่ “ไม่ใช่” ยิ่งกว่านั้นเป็นเรื่องของ “คุณค่า” และ “มูลค่า” เพราะ
LPG เป็นวัตถุดสำคัญในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และการที่มีการลงทุนสร้าง
โรงแยกก๊าซขึ้นเป็นครั้งแรกที่มาบตาพุด จ.ระยอง เปิดทำการเมื่อ พ.ศ.2528
ก็เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงและ ป้อนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
0 comments:
Post a Comment