Home » » การเปรียบเทียบมาตรฐานเครื่องวัดของอุปกรณ์ก๊าซ

การเปรียบเทียบมาตรฐานเครื่องวัดของอุปกรณ์ก๊าซ

khe Thursday 24 August 2000 | 07:49

ขอขอบคุณสำหรับการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บสายของเราและเพื่อการศึกข้อมูลเกี่ยวกับ ก๊าซและประเภทของก๊าซต่างๆที่เราได้เขียนและจักทำเพื่อให้คนที่ใคร่ศึกษา เรียนรู้เกี่ยวก๊าซ ทางเราจะพยายามจักหาข้อมูลและวิธีใช้มาให้ทุกท่านได้ศึกษา หวังอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ข้อมูลทุกท่าน







1. ผลจากการสอบเทียบมาตรฐานทำให้เห็นความผิดพลาดที่แสดงบน
    เครื่องมือวัด ระบบการวัด หรือวัสดุที่ใช้วัด หรือใช้กำหนดปริมาณ
    บนสเกลของเครื่องมือวัด
2. การสอบเทียบมาตรฐานอาจจะใช้กำหนดคุณสมบัติทางมาตรวิทยาอื่นๆ
3. ผลการสอบเทียบมาตรฐานอาจบันทึกในรูปของ ใบรายงานผลการสอบ
    เทียบ หรือใบรับรองผลการสอบเทียบ
4. ผลการสอบเทียบมาตรฐาน บางครั้งแสดงในรูปของ การค่าแก้ หรือ
     Calibration Factor หรือ Calibration Curve

การ เปรียบเทียบระหว่างเครื่องมือ หรืออุปกรณ์การวัด หรือมาตรฐานการวัดที่มีเกณฑ์ยอมรับแต่ยังไม่รู้คุณลักษณะด้านความแม่นยำ โดยเปรียบเทียบกับระบบมาตรฐานการวัดที่มีความสามารถ และรู้ค่าความไม่แน่นอนของการวัด เพื่อที่จะ ตรวจสอบ หาความสัมพันธ์ รายงาน  หรือทำให้มีความแตกต่างน้อยที่สุดโดยการปรับแต่ง หรือการรายงานค่าปรับแก้ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้รวมถึงการทำความสะอาดภายนอกเครื่องมือวัด การปรับแต่งย่อยๆ การสร้างหรือทบทวนตารางค่าแก้ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์
(NCSL RP-3  p4)
ความสำคัญของการสอบเทียบมาตรฐานเครื่องวัด
เพื่อทำให้แน่ใจว่าเครื่องมือวัดยังสามารถให้ผลการวัดที่เป็นไป
     ตามคุณลักษณะที่ต้องการ(มีค่าผิดพลาดไม่เกินเกณฑ์ยอมรับ)
   เพื่อทำให้เกิดความสามารถสอบกลับได้ของผลการวัด
   เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
   เพื่อให้รู้ค่าปรับแก้ของเครื่องมือวัดที่รับการสอบเทียบ
   เพื่อการยอมรับระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
   เพื่อความเป็นธรรมทางการค้า 
                                        ฯลฯ
ความหมายของการสอบเทียบภายใน

การ สอบเทียบภายใน (in-house calibration) หมายถึง การสอบเทียบซึ่ง ดำเนินการโดยองค์กรเอง กระทำภายในพื้นที่ของโรงงาน และใช้ทรัพยากรต่างๆ เช่น ใช้บุคลากร เครื่องมือมาตรฐาน วิธีการ   ขององค์กร เพื่อให้เครื่องมือวัดที่จำเป็นต้องได้รับการสอบเทียบ ได้รับการสอบเทียบอย่างเหมาะสมตามที่กำหนด
    ( การจ้างหน่วยงานภายนอกมาสอบเทียบ ที่โรงงาน
       จัดเป็น external calibration บางครั้งเรียก on site
       calibration )
ลักษณะการสอบเทียบเครื่องวัดของโรงงานอุตสากรรม SMEs
รับบริการสอบเทียบเครื่องมือวัด จากห้องปฏิบัติการสอบเทียบ นอกองค์กร ( external calibration )

2.     ดำเนินการสอบเทียบในองค์กรเอง ( in – house calibration )

ดำเนินสอบเทียบแบบผสม ทั้งรับบริการจากภายนอก และการ
        ดำเนินการสอบเทียบเองภายในองค์กรเป็นบางส่วน

เกณฑ์ในการเลือกลักษณะของการสอบเทียบภายใน
1. ความพร้อมขององค์ประกอบการสอบเทียบภายในองค์กร

 2. ความประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับ การสอบเทียบภายนอก

3.  ความเสี่ยงต่อกิจการ  อันเกิดจากการวัดผิด
องค์ประกอบของการสอบเทียบภายใน( ref. UKAS-TPS52)
จัดให้มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการสอบเทียบ

2.  บุคลผู้สอบเทียบ และผู้ตรวจสอบการสอบเทียบได้รับการฝึกอบรม
     อย่างเหมาะสม

3.  มีอุปกรณ์มาตรฐานการวัด วัสดุมาตรฐานอ้างอิงที่ได้รับการรับรอง
     เครื่องมือมาตรฐานอ้างอิง ต้องสามารถสอบกลับได้ถึง SI unit
     และมีค่าความไม่แน่นอนของการวัดเหมาะสม ต่อการเป็นอุปกรณ์
     มาตรฐานการสอบเทียบ
4. มีการจัดทำเอกสารแสดงขั้นตอนการสอบเทียบทุกประเภทที่ทำ
    ( calibration procedures )

5. มีแนวทางการบันทึกผลสอบเทียบ และการคำนวณผลที่เหมาะสม

6. มีวิธีการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัดในแต่ละงานสอบเทียบ
Down load UKAS TPS-52 จาก  www.ukas.com ( ใน information center)
ความประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับ การสอบเทียบภายนอก
ค่าใช้จ่ายต่อจำนวนเครื่องวัด  ระหว่างการสอบเทียบโดยหน่วยงาน
  ภายนอก และสอบเทียบเองในองค์กร  แบบใดสูงกว่ากัน

  ค่าใช้จ่ายในการสอบเทียบจากภายนอก หาได้จากใบเสนอราคาของ
  ห้องปฏิบัติการสอบเทียบจากภายนอก สำหรับแต่ละเครื่องมือวัดแล้วนำ
  มารวมเป็นยอดรวมค่าสอบเทียบต่อปี
ค่าใช้จ่ายสำหรับการสอบเทียบภายนอก
1. ค่าใช้จ่ายต่อจำนวนเครื่องวัด  ที่เรียกเก็บจากห้องปฏิบัติการสอบเทียบ
      ภายนอก  ติดโดยรวมค่าใช้จ่ายเครื่องมือวัดทุกเครื่องที่สอบเทียบ

  2.  ค่าเชื้อเพลิงในการขนส่งเครื่องมือวัดไปสอบเทียบ
                                      ฯลฯ
ค่าใช้จ่ายสำหรับการสอบเทียบภายในองค์กร
1. ต้นทุนคงที่จากการลงทุนสร้างห้องปฏิบัติการสอบเทียบ
      - ค่ากั้นห้อง  ค่าระบบควบคุมสภาพแวดล้อม
      - ค่าอุปกรณ์มาตรฐานการวัด
  2.  ค่าใช้จ่ายแปรผันระหว่างการให้บริการสอบเทียบภายในองค์กร
      - เงินค่าตอบแทนพนักงานสอบเทียบ และผู้ตรวจสอบผลการสอบเทียบ
      - ค่า calibrate อุปกรณ์มาตรฐานตามระยะเวลา
      - ค่า ไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
      - ค่าซ่อมบำรุงเครื่องมือมาตรฐานการวัด
      - ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาความสามารถ พนักงานสอบเทียบ ฯลฯ

0 comments:

Post a Comment

Blog Archive