Home » » วิธีตรวจเตือน-ตัดไฟรั่วเพื่อป้องกันชีวิตคนช่วงน้ำท่วม

วิธีตรวจเตือน-ตัดไฟรั่วเพื่อป้องกันชีวิตคนช่วงน้ำท่วม

khe Wednesday 20 September 2000 | 00:44


เรามีความยิดดีอย่างยิ่งที่ทุกท่านใด้เข้ามาเยี่ยมชมและเสาะหาข้อมูลจางเว็บของเรา หวังอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้ความรู้จากเว็บของเราที่ได้ค้นหาข้อมูลต่างๆมาเพื่อให้ทุกท่านให้ศึกษาหาความรู้ ดังนั้นแล้วเราขอขอบคุณสำหรับการใช้เวลาที่มีสาระสำหรับทุกท่าน





สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้มีประชาชนเดือดร้อนกันเป็นจำนวนมาก อีกปัญหาที่นับว่าน่ากลัวไม่แพ้สัตว์มีพิษชนิดต่างๆ ที่หนีน้ำขึ้นมาอยู่ตามบ้านเรือนของประชาชน นั่นคือ "กระแสไฟฟ้ารั่ว" ก่อให้เกิดอันตรายจนถึงชีวิตทำให้คนทุกคนเกิดความกลัวจากน้ำท่วม
ดังนั้นแล้วภัยจากไฟดูดเป็นอันตรายที่ซ่อนตัวได้แนบเนียนระหว่างเกิดอุทกภัย เพราะมองด้วยตาเปล่าไม่อาจบอกได้เลยว่าพื้นที่ใดมีกระแสไฟฟ้ารั่วอยู่ตั้งแต่เกิดน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 มีผู้เสียชีวิตจากการเกิดไฟฟ้าช็อตหลายราย จึงมีหลายหน่วยงานพยายามคิดค้นเครื่องตรวจกระแสไฟฟ้า หรือเครื่องตัดกระแสไฟเพื่อป้องกันอันตราย     
เช่นเดียวกับการคิดค้น "เครื่องตรวจเตือน-ตัดไฟรั่ว" ในน้ำ ซึ่งเป็นแนวคิดของ นายดุสิต สุขสวัสดิ์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อาจารย์ดุสิต กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ "เครื่องตรวจเตือน-ตัดไฟรั่ว" เพราะเล็งเห็นว่าเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมบ้าน หลายคนคิดว่าหากเกิดน้ำท่วมถึงเต้าไฟในบ้าน เมื่อตัดเบรกเกอร์แล้วก็ป้องกันไฟฟ้ารั่วได้ แต่ที่จริงแล้วยังมีกระแสไฟฟ้าอยู่ที่เรามองไม่เห็นจากมัน               
"แม้ว่ามีบ้าน 2 ชั้น น้ำท่วมที่ชั้น 1 ตัวเต้าไฟอยู่ชั้น 2 แต่ก็ทำให้น้ำซึมผ่านระบบไฟฟ้าได้เหมือนกัน แม้แต่กระดาษทิชชู่ที่ดูดน้ำขึ้นไป ก็ทำให้ตัวเต้าระเบิดถึงช็อต ถึงแม้จะมีสายดินก็ตาม"              
อาจารย์ดุสิต ระบุว่า เครื่องตรวจเตือน-ตัดไฟรั่ว ที่ประดิษฐ์มี 2 แบบ คือ เครื่องที่ช่วยตรวจวัดไฟฟ้ารั่วในน้ำ หรือชื่อว่า "เป็ดกระปุก" ที่นำกระปุกพลาสติกมาประยุกต์ต่อกับวงจรไฟฟ้า เมื่อจุ่มเป็ดกระปุกตัวนี้สามารถทราบได้ว่าน้ำท่วมบริเวณนั้นมีไฟรั่วไหลออกมาหรือไม่              
นอกจากนี้หากอยู่ในพื้นที่น้ำลึกจะมีตัวที่ลักษณะการใช้งานเหมือนกันแต่เพิ่มท่อพีวีซี ที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร เพื่อตรวจไฟรั่วในน้ำในกรณีที่อยู่ในเรือ หรือน้ำที่มีความลึก ซึ่งเสี่ยงอย่างยิ่งหากน้ำท่วมแต่ไฟฟ้าไม่ถูกตัดถึงแม้จะมีสายดินก็ตาม อีกเครื่องคือ เครื่องตัดไฟ ซึ่งเครื่องนี้ตัดไฟได้ทันทีหากเกิดไฟรั่ว ลักษณะคล้ายปลั๊กไฟสำรองสามารถนำไปวางต่อกับปลั๊กไฟของบ้าน เพื่อป้องกันกรณีที่เกิดไฟรั่ว อุปกรณ์จะตัดสัญญาณทันที              
แนวคิดในการประดิษฐ์อุปกรณ์ชุดนี้ อาจารย์ดุสิต กล่าวว่า ตอนนี้เกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด มีหลายหน่วยงานเข้าช่วยเหลือและมีผู้ประสบภัยอีกมากที่ไม่สามารถทราบเลยว่าบริเวณที่เราอาศัยอยู่มีไฟฟ้ารั่วในพื้นที่หรือไม่ เสี่ยงอย่างยิ่งว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตประชาชน
"เครื่องมือที่ทำขึ้นไม่ใช่เพื่อกันไฟไหม้ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า แต่กันคนเสียชีวิต เพราะเครื่องทั้ง 2 แบบ สามารถช่วยท่านตรวจและตัดไฟฟ้ารั่วในน้ำ อุปกรณ์ทั้งหมดจะนำไปแจกจ่ายชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วมเพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน"
ทั้งนี้ สำหรับชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมขณะนี้แม้จะลำบากต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังต้องระมัดระวังกระแสไฟฟ้าที่อาจรั่ว จนถูกไฟดูดจนเสียชีวิต สิ่งสำคัญต้องไม่ประมาท
ทั้งนี้ ถ้าน้ำท่วมปลั๊กไฟฟ้าแล้ว ให้รีบตัดการจ่ายไฟ ปลดคัตเอาท์ทันที ให้ตรวจปลั๊กไฟที่แช่น้ำ เพราะอาจมีกระแสไฟฟ้ารั่วหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้เสาเหล็กที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้า ถ้าเครื่องไฟฟ้าย้ายไม่ทันถูกน้ำท่วมแล้วควรหยุดใช้งานจนกว่าจะได้รับการตรวจสภาพเสียก่อน ตรวจสอบสวิตซ์ไฟฟ้าว่ามีน้ำเข้าหรือฝนสาดหรือไม่ ถ้าเปียกน้ำอย่าแตะต้องอุปกรณ์และเครื่องไฟฟ้าใดๆ ห้ามใช้เครื่องไฟฟ้าที่ถูกโดนน้ำท่วมแล้ว ควรตรวจสอบก่อน อย่าแตะสวิตซ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังเสียบปลั๊กอยู่ ในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียกๆ และงดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดขณะเกิดน้ำท่วม.

0 comments:

Post a Comment

Blog Archive