Home » » ความปลอดภัยด้วยกระแสไฟฟ้า How to protect the electronic

ความปลอดภัยด้วยกระแสไฟฟ้า How to protect the electronic

khe Thursday, 22 September 2011 | 23:47



เรามีความยิดดีอย่างยิ่งที่ทุกท่านใด้เข้ามาเยี่ยมชมและเสาะหาข้อมูลจางเว็บของเรา หวังอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้ความรู้จากเว็บของเราที่ได้ค้นหาข้อมูลต่างๆมาเพื่อให้ทุกท่านให้ศึกษาหาความรู้






นอกจากระบบการปฏิบัติการที่เน้นป้องกันเพื่อความปลอดภัยในการทำ

งานอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการป้องกันไฟฟ้าดูดหรือไฟฟ้าช็อตด้วยระบบที่ทันสมัยและมีการป้องกันสูงแล้วสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงไม่น้อยไปกว่ากันก็คือ วัสดุตกแต่งภายในพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นอาคาร ฝาผนังหรือเฟอร์นิเจอร์ วัสดุเหล่านี้ก็เป็นส่วนช่วยในการป้องกันกระแสประจุไฟฟ้าสถิตที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยปกติไม่ว่าจะเป็นห้องทำงานในสำนักงาน ห้องคอมพิวเตอร์หรือห้องผ่าตัด ต่างก็ต้องมีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสูง ดังนั้นจึงต้องมีการป้องกันในเรื่องของการควบคุมการเกิดประจุไฟฟ้าสถิตและช่วยในการกระจายประจุเหล่านั้น โดยเฉพาะวัสดุปูพื้นภายในอาคาร หรือภายในห้องที่มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าอยู่มากมายในที่ทำงานของทุกท่าน

และเนื่องจากในโรงงานผลิตไฟฟ้าย่อมมีการไหลเวียนของกระแสไฟเกิดขึ้นอยู่มากมาย ก็อาจเกิดปรากฏการณ์ ESD หรือ Electrostatic Discharge นั่นคือเกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้าสถิตจากวัสดุหนึ่งไปยังอีกวัสดุหนึ่งอย่างรวดเร็วได้ง่าย ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายกับบุคคลที่ใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้น ดังนั้นการป้องกันประจุไฟฟ้าสถิตถือได้ว่าเป็นมาตรฐานเบื้องต้นที่ควรจะป้องกันเอาไว้ก่อนเพื่อป้องกันเกิดภัยอัตราย

หากสังเกตจะพบว่าภายในโครงการและในพื้นที่ของโรงไฟฟ้าเน้นใช้กระเบื้องยางปูพื้นชนิดป้องกันประจุไฟฟ้าสถิตเป็นหลัก เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และง่ายต่อการทำความสะอาด เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่ากระเบื้องยางจะมีคุณสมบัติของการต้านทานกระแสไฟฟ้าสถิตได้ดี (Anti-static) และเมื่อผสมผงคาร์บอนหรือผงโลหะลงไปเพิ่มก็จะช่วยให้เกิดการนำกระแสไฟฟ้า (Conductive) ได้ดียิ่งขึ้น
การเลือกวิธีป้องกันการเกิดประจุไฟฟ้าสถิตที่เหมาะสม ควรเลือกจากแหล่งของการเกิดประจุและการป้องกันจากการใช้งาน ซึ่งมีหลักการป้องกันไฟฟ้าสถิตอย่างง่ายคือ หากเลือกวัสดุปูพื้นชนิด Anti-Static ก็จะช่วยป้องกันประจุไฟฟ้าเหมือนกับเป็นฉนวนป้องกันการไหลย้อนกลับ ดังนั้นเมื่อเกิดการไหลผ่านจากวัสดุหนึ่งไปยังอีกวัสดุหนึ่ง ประจุไฟฟ้าก็จะกระจายออกไปทั่ววัสดุ เราจะไม่รู้สึกถูกดูดหรือถูกช็อตเมื่อใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่ จึงเหมาะกับการนำไปใช้ในห้องทำงานในสำนักงานทั่วไปแต่หากเลือกวัสดุที่เป็นประเภท Static Dissipative ซึ่งเป็นวัสดุประเภทตัวนำตรงที่มันสามารถปล่อยให้มีการเคลื่อนย้ายประจุจากวัสดุลงดินหรือไปยังวัสดุที่เป็นตัวนำอื่นได้ โดยจะช่วยยืดเวลาการปล่อยประจุไฟฟ้าสถิต ทำให้โอกาสการเกิดการสปาร์กลดลง จึงเหมาะกับการใช้งานในห้องทำงานปฏิบัติการ ห้องคอมพิวเตอร์ หรือห้อง Simulator เป็นต้น

หรือหากเลือกวัสดุประเภท Conductive ซึ่งเป็นวัสดุประเภทสื่อนำ ไฟฟ้า ที่มีการผสมผงคาร์บอนหรือผงโลหะ จะทำ ให้การส่งผ่านกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่ายและในทันที และเมื่อเชื่อมต่อด้วยสายดินที่ติดตั้งไว้ก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดินไปซึ่งป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้าดูด หรือช็อตที่ตัวบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหตุนี้จึงเหมาะกับการใช้งานในโรงงานไฟฟ้าหรือในพื้นที่ห้องที่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์กระแสไฟฟ้าสูงกว่าปกติ

นอกจากนี้กระเบื้องยางยังมีความโดดเด่นในเรื่องของต้านทานรอยขูดขีด ทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง มีความต้านทานการลุกลามการเผาไหม้ของไฟสูง พร้อมด้วยคุณสมบัติในการป้องกันไฟฟ้าสถิตตลอดอายุการใช้งาน อีกทั้งยังดูแลรักษาและทำความสะอาดได้ง่ายอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่งานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้พื้นกระเบื้องยางปูพื้นแม้แต่ในโรงไฟฟ้าทุกแห่งก็เลือกใช้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้สอยอาคาร
โดยภาพรวมแล้วโครงการโรงไฟฟ้าจะถูกออกแบบไว้ได้อย่างลงตัว และมีการออกแบบพื้นที่ว่างเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน เพื่อรองรับการขยายตัวของโรงไฟฟ้าในอนาคตได้อย่างเป็นดี ผนวกกับการมีผู้บริหารที่มองการณ์ไกล มุ่งมั่นและทุ่มเทเพื่อประโยชน์ส่วนรวม พร้อมทั้งการบริหารงานที่โปร่งใส ใจเป็นธรรม และเป็นที่รักใคร่ของลูกน้องคุณสมนึกมักจะมีคำพูดประจำติดปากกับพนักงานว่า “วันนี้คุณขาดทุนแล้วหรือยัง” เป็นคำพูดที่เจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้ามักได้ยินอยู่เสมอ ซึ่งนับเป็นคำพูดที่เดาความหมายได้ยากและยากที่จะเข้าใจสำหรับคนรุ่นใหม่ แต่คำพูดประโยคนี้เป็นที่ตระหนักดีของเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าจะต้องทำงานอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถเพื่อประโยชน์ของลูกค้าและนายจ้างโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เพราะสิ่งที่ได้กลับมานั้นย่อมคุ้มค่ากับประสบการณ์ที่ได้รับและได้ลงมือทำ ‘ยิ่งขาดทุนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้กำไรมากเท่านั้น เพราะกำไรมาจากความรู้ความสามารถที่เกิดขึ้นอย่างต่อเหนือง

0 comments:

Post a Comment