Home » » การวัดการไหลของเครื่องจักรที่ทันสมัย

การวัดการไหลของเครื่องจักรที่ทันสมัย

khe Wednesday, 21 September 2011 | 02:06

เรามีความยิดดีอย่างยิ่งที่ทุกท่านใด้เข้ามาเยี่ยมชมและเสาะหาข้อมูลจางเว็บของเรา หวังอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้ความรู้จากเว็บของเราที่ได้ค้นหาข้อมูลต่างๆมาเพื่อให้ทุกท่านให้ศึกษาหาความรู้ ดังนั้นแล้วเราขอขอบคุณสำหรับการใช้เวลาที่มีสาระสำหรับทุกท่า







 เครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรมที่นำมาใช้วัดการไหลในอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตมีให้เลือกใช้ได้หลายประเภทเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน การไหลเป็นตัวที่ต้องมีการวัดและควบคุมในกระบวนการผลิตเกือบทุกประเภท เครื่องมือวัดการไหลที่มีความนิยมใช้กันมาตั้งแต่อดีตและในปัจจุบันก็ยังคงเป็นทางเลือกแรกสำหรับวัดการไหลจะเป็นเครื่องมือวัดการไหลที่ใช้ Primary Element ที่เป็น Orifice Plate, Nozzle หรือ Venturi ซึ่งจะต้องถูกใช้งานร่วมกับ Secondary Element ที่เป็นเครื่องมือวัดความดันแตกต่าง (Differential Pressure Transmitter) อยู่ด้วยเสมอ ในการใช้งานเครื่องมือวัดการไหลชนิดนี้จะต้องมีส่วนที่เชื่อมต่อกับ Primary Element ทั้งด้านหน้าและด้านหลังที่เรียกว่า Impulse Line ซึ่งเป็นท่อขนาดเล็กเพื่อเป็นทางเดินความดันที่ไปยังเครื่องมือวัดความดันแตกต่าง

          เป็นที่ทราบกันดีว่า ในการติดตั้งหรือใช้งาน Impulse Line จะมีปัญหาเกิดขึ้นได้หลายแบบในทางปฏิบัติ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เองสามารถส่งผลกระทบต่อค่าความแม่นยำของค่าการไหลที่อ่านได้จากเครื่องมือวัด ปัญหาทั่วไปที่พบกันได้บ่อยครั้งจะเป็นดังนี้
          * การหน่วงสัญญาณความดัน (Damping)
          * การอุดตัน (Blockage)
          * การรั่วบริเวณจุดต่อ (Leakage)
          * อุณหภูมิที่แตกต่างระหว่าง Impulse Line (และเป็นผลทำให้ความหนาแน่นแตกต่างกัน)
          * ความแตกต่างขององค์ประกอบของไหลใน Impulse Line (Different Composition)
          * มีการกลั่นตัวใน Impulse Line (Condensate)
          * การเกิดฟองอากาศหรือการเดือดใน Impulse Line
รูปที่ 7 แสดงตัวอย่างการติดตั้งเครื่องมือวัดการไหลไอน้ำกับท่อแนวตั้งและแนวนอน

ของเหลวมีการกลั่นตัวหรือระเหย (Condensing or Evaporating Fluids)
          ในการวัดการไหลสำหรับของไหลที่มีโอกาสเกิดฟองอากาศหรือใกล้กับจุด Dew Point การออกแบบและติดตั้งโดยทั่วไปต้องทำให้แน่ใจว่า Impulse Line มีการบรรจุด้วยของเหลวหรือก๊าซทั้งสองด้าน ตลอดการทำงานและในสภาวะสิ่งแวดล้อมใช้งาน

          ถ้าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมมีค่าสูงกว่าจุด Dew Point ควรจะใช้การวัดการไหลของก๊าซแทนการวัดการไหลของเหลว การวัดการไหลของเหลวที่มีการระเหยที่อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม อาจทำให้เกิดปัญหาในการอ่านค่าได้ ซึ่งอาจจำเป็นจะต้องมีการหุ้มฉนวน เพื่อป้องกันจุดเดือดของเหลวใน Impulse Line หรืออีกทางเลือกหนึ่งถ้าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมสูงกว่าจุดเดือด อาจจะดีกว่าถ้าทำให้เป็นไอใน Impulse Line ทั้งสองด้าน

การไหลเป็นจังหวะ (Pulsating Flow)
          การไหลเป็นจังหวะหรือการไหลที่เป็นช่วง ๆ นั้น มาตรฐาน ISO 5167-1:2003 ได้มีการพิจารณาการไหลที่ไม่เป็นจังหวะ (None Pulsating flow) ก็ต่อเมื่อ

        

          การวัดการไหลเป็นจังหวะอาจต้องมีการวัดทั้งแบบการไหลต่อเวลา (Time-dependent) หรือ การไหลต่อเวลาเฉลี่ย (Time-average)

          สำหรับการวัดการไหลเป็นจังหวะเป็นไปได้ที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการวัดเพิ่มมากขึ้น

          สำหรับ Impulse Line อย่างง่าย ๆ ที่ประกอบด้วยท่อทางตรงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากันตลอด ความถี่เรโซแนนซ์ (Resonant Frequencies) ใน Impulse Line จะถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นจากจังหวะการไหล ค่าความถี่ใน Impulse Line จะเป็นค่าความถี่ของจังหวะการไหลที่ตรงกับหนึ่งในสี่ส่วนของคลื่นความถี่เรโซแนนซ์ หรือการคูณด้วยจำนวนคี่ของความถี่นั้น ความถี่เรโซแนนซ์ทางเสียง (fn) แสดงได้โดย

        
     
          ถ้า n = Mode Number (1, 2, 3, ..…..)
                c = Speed of Sound in Fluid
                L = Impulse Pipe Length

          จากผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองแสดงให้เห็นว่าที่ตำแหน่งเรโซแนนซ์ สามารถทำให้ความกว้างของจังหวะการไหลใน Impulse Line มีค่ามากกว่าความกว้างของจังหวะการไหลในท่อหลัก

          นอกเหนือจากนั้นแล้วจากการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ข้อมูลการไหลเป็นจังหวะจาก Impulse Line ไม่มีความจำเป็นในการพิจารณา ถ้าระยะความยาวของ Impulse Line ที่ใช้มีระยะที่สั้นกว่าหนึ่งในสี่ส่วนความยาวคลื่นของความถี่สูงสุดที่เกิดในท่อหลัก และหลังจากนั้นถ้าไม่มีส่วนที่บีบให้เล็กลงหรือปริมาณใน Impulse Line ความถี่ควรจะต่ำกว่าความถี่เรโซแนนซ์

          อย่างไรก็ดี การไหลเป็นจังหวะสามารถเป็นสาเหตุให้เกิดความดันเคลื่อนย้ายใน Impulse Line ค่าเฉลี่ยความดันที่ถูกส่งออกไปโดย Impulse Line ไม่จำเป็นต้องมีค่าเท่ากับความดันเฉลี่ยในระบบท่อ เมื่อ Impulse Line ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเรโซแนนซ์ สาเหตุเบื้องต้นของการเคลื่อนถูกแสดงได้เป็นการไหลแกว่งไปมาผ่านอุปกรณ์ความต้านทานที่ไม่เป็นเชิงเส้น ดังเช่น ท่อบีบตัว (Contractions), ท่อขยายตัว (Enlargements), วาล์ว และปริมาณในทรานสดิวเซอร์

อุปกรณ์เหล่านี้อาจจะมีการสูญเสียสัมประสิทธิ์สำหรับการไหลไปยัง Impulse Line ที่มีความแตกต่างจากสัมประสิทธิ์สำหรับการไหลที่มองเห็นได้ การไหลที่แกว่งไปมาถูกปรับปรุงในบางส่วนและทำให้เกิดผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงความดันโดยรวมใน Impulse Line การปรับปรุงการไหลถูกขยายอย่างมากถ้าความถี่เรโซแนนซ์ทางเสียงใน Impulse Line ตรงกับความถี่ของจังหวะการไหล

          สิ่งหลัก ๆ ที่ได้จากผลกระทบความดันในท่อจะเป็นดังนี้
          * การตอบสนองทางเสียงของ Impulse Line สามารถเป็นสาเหตุจังหวะการไหลใน Impulse Line จะสูงกว่าหรือต่ำกว่าหลายเท่าในท่อหลักขึ้นอยู่กับการตอบสนองทางเสียงของ Impulse Line

          * Impulse Line สามารถทำให้ความดันบิดเบือนไป เมื่อมีการไหลเป็นจังหวะในท่อหลัก ความดันบิดเบือนสามารถเป็นไปได้ทั้งด้านบวกและด้านลบ และจะมีความรุนแรงเมื่อถูกกระตุ้นให้เกิดเรโซแนนซ์ทางเสียงใน Impulse Line

          * สิ่งขัดขวางในวาล์ว, ปริมาณ และการกรองใน Impulse Line สามารถถูกนำมาใช้เตรียมการยับยั้งและทำให้จังหวะการไหลเล็กลง แต่ไม่สามารถกำจัดความดันบิดเบือนได้ทั้งหมด

          * การวัดความดันแตกต่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีความไวจากผลกระทบของ Impulse Line ถ้ามีค่าความดันบิดเบือนทางบวกใน Impulse Line ด้านหนึ่งและมีค่าความดันบิดเบือนทางลบใน Impulse Line ด้านหนึ่งสามารถทำให้เกิดความดันแตกต่างที่มีค่ามากได้

          ข้อแนะนำหลักสำหรับการใช้งานในลักษณะนี้ควรจะต้องติดตั้ง Impulse Line ให้มีระยะสั้นที่สุดเพื่อให้มีความถี่ทางเสียงสูง กว่าความถี่จังหวะการไหลในท่อหลัก ระบบท่อ Impulse Line ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากันและไม่มีการบีบตัวในส่วนใดส่วนหนึ่ง

          ISO/TR 3313 ได้แนะนำแนวทางของผลกระทบจากการไหลเป็นจังหวะ ๆ ในเครื่องมือวัดการไหล มันเป็นแนวทางเพิ่มเติมในการออกแบบ Impulse Line ดังที่แสดงไปแล้วข้างต้น แต่จะทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างทรานสดิวเซอร์ที่มีการตอบสนองช้า (Slow-response) และการตอบสนองเร็ว (High-response) ทรานสดิวเซอร์ที่ตอบสนองช้าถูกออกแบบมาในการแสดงค่าความดันแตกต่างที่ค่าเวลาเฉลี่ย (Mean-time) ขณะที่ทรานสดิวเซอร์มีการตอบสนองเร็วจะถูกออกแบบมาเพื่อแสดงค่าความดันแตกต่างที่ขึ้นอยู่กับเวลา (Time-dependant) ดังนั้นค่ารากที่สอง (Square-root) ของค่าที่วัดได้สามารถเป็นค่าเฉลี่ย ไปยังผลลัพธ์ของค่าเฉลี่ยอัตราการไหลจริง

          แนวทางการออกแบบ Impulse Line สำหรับทรานสดิวเซอร์ที่มีการตอบสนองช้าในการวัดอัตราการไหลต่อเวลาเฉลี่ย (Time-mean Flow Rate) เป็นดังนี้

          * ไม่ควรเลือกใช้ทรานสดิวเซอร์แบบ Piezometer Ring หรือมีการจัดวางที่ถูกเรียกว่า “Triple-T” และ

          * ระยะความยาวระหว่างจุดต่อวัดความดันควรจะมีระยะสั้น เมื่อเปรียบเทียบกับความยาวคลื่นจังหวะการไหล

          * Impulse Line ควรจะสั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับจุดต่อ ซึ่งควรจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 3  มิลลิเมตร

          * ความยาวของ Impulse Line ไม่ควรมีความยาวใกล้กับหนึ่งในสี่ส่วนของความยาวคลื่นจังหวะการไหล

          * สำหรับการใช้งานกับก๊าซ ต้องมีหลุมหรือความจุในทรานสดิวเซอร์ให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

          * ต้องมีจุดระบายฟองอากาศสำหรับการใช้งานกับของเหลว

          * ความต้านทานในการหน่วงของ Impulse Line และอุปกรณ์ควรจะเป็นแบบเชิงเส้น ไม่ควรใช้วาล์วชนิดที่ปรับค่าได้

          * เวลาคงที่ของอุปกรณ์ควรจะประมาณ 10 เท่าของช่วงเวลาของวงรอบจังหวะการไหล

          * ถ้าข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถเตรียมการได้ ระบบการวัดที่สองต้องสามารถถูกแยกส่วนจากการไหลเป็นจังหวะ โดยการใส่การหน่วงที่เป็นตัวต้านทานแบบเชิงเส้นลักษณะเหมือนกันทั้งสองด้าน และอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้จุดต่อให้มากที่สุด

          แนวทางการออกแบบ Impulse Line สำหรับทรานสดิวเซอร์ที่มีการตอบสนองเร็วในการวัดอัตราการไหลต่อการเปลี่ยนแปลงเวลา (Time-varying Flow Rate) เป็นดังนี้

          * ข้อจำกัดความถี่ทางกลและทางอิเล็กทรอนิกส์ของระบบการวัดตำแหน่งที่สองอย่างน้อยควรจะมากกว่า 10 เท่าของความถี่จังหวะการไหล

          * ความยาวของ Impulse Line ควรจะมีระยะสั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้และน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของหนึ่งในสี่ส่วนความยาวคลื่นของจังหวะการไหล

          * ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง Impulse Line สำหรับของเหลวควรจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 5  มิลลิเมตร

          * ข้อต่อและวาล์วควรจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ Impulse Line

          * เครื่องมือวัดที่สองต้องมีความสมดุลระหว่างด้านหน้าและด้านหลัง

          * ต้องมีจุดระบายฟองอากาศสำหรับการใช้งานกับของเหลว

การอุดตันใน Impulse Line
          การอุดตันใน Impulse Line จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อมูลการไหลสูญเสียไปจากระบบควบคุม อาจจะเป็นผลกระทบที่รุนแรงต่อการควบคุมกระบวนการผลิตบางประเภทหรือถ้านำสัญญาณนี้ไปใช้ในระบบนิรภัย การหลีกเลี่ยงการอุดตันที่อาจเกิดขึ้นใน Impulse Line เป็นตัวแปรที่ใช้พิจารณาในการกำหนดเส้นผ่าศูนย์กลางของ Impulse Line

          จากข้อมูลการใช้งานจะพบได้ว่า สาเหตุของการอุดตันใน Impulse Line ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการแข็งตัวมีมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์เกิดขึ้นจากการไม่ทำงานของระบบ Heat Tracing จำนวนปัญหาในการติดตั้งและการแก้ปัญหาสามารถทำได้เป็นดังนี้

          1. เตรียมการระบบ Heat Tracing (โดยทั่วไปจะเป็นแบบไฟฟ้าหรือไอน้ำ) ให้กับเครื่องมือวัดการไหล เมื่อไรก็ตามที่อาจมีโอกาสเกิดสภาวะแข็งตัวขึ้นใน Impulse Line
          2. หลีกเลี่ยงไม่ให้ระบบ Heat Tracing สัมผัสกับบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงเกิน
          3. หลีกเลี่ยงการจับยึดหรือรัด Impulse Line กับส่วนรองรับที่แน่นเกินไป ซึ่งสามารถเป็นสาเหตุให้ฉนวนถูกบีบอัดและทำให้ระบบ Heat Tracing ไม่สามารถทำงานได้
          4. ในการติดตั้งต้องไม่ดัด Impulse Line ให้โค้งงอเกินข้อจำกัด
          5. ติดตั้งระบบ Heat Tracing และฉนวนที่มีประสิทธิภาพ
          6. เตรียมการลาดเอียงของ Impulse Line ให้ถูกต้อง
          7. เตรียมการวัดสุอุปกรณ์หุ้มห่อเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ
          8. จัดเตรียมส่วนป้องกันอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอ

          นอกจากนั้นในปัจจุบันยังสามารถใช้เครื่องมือวัดความดันแตกต่างแบบ Smart เพื่อนำความสามารถเพิ่มเติมในการตรวจจับและคาดคะเนการอุดตันหรือการแข็งตัวใน Impulse Line มาเป็นการเตือนให้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นใน Impulse Line สำหรับกรณีที่ไม่มีการอุดตันหรือการแข็งตัวใน Impulse Line จะทำให้เกิดการรบกวนความดันสูงหรือมีความผันแปรของความดันที่วัดได้ เนื่องจากการไหลวนของไหลในท่อหลัก แต่ถ้ามีการอุดตันขึ้นใน Impulse Line สัญญาณความดันที่ได้จะมีความราบเรียบหรือนิ่งกว่าในสภาวะปกติ

ซึ่งเครื่องมือวัดความดันแตกต่างแบบ Smart สามารถเรียนรู้คุณลักษณะความความดันที่ได้จาก Impulse Line ที่ไม่มีการอุดตันและจะนำไปใช้ในการแสดงสภาวะปกติ ถ้าคุณลักษณะของความดันแตกต่างออกไปจากสภาวะปกติเนื่องจากการอุดตันในท่อ ทำให้เครื่องมือวัดความดันแตกต่างสามารถตรวจจับได้และแสดงรายงานผลลัพธ์ทางโปรแกรมได้ ในการใช้งานจริงมีความเป็นไปได้ที่จะใช้การตรวจจับการอุดตันของ Impulse Line เพียงด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน การใช้เทคนิคนี้ต้องการเครื่องมือวัดที่มีการตอบสนองเร็วมาก

การไหลแบบสองสถานะ (Two-Phase Flow)
          การใช้งานกับการไหลแบบสองสถานะ การออกแบบจะให้ Impulse Line มีของไหลทั้งสองสถานะ ของเหลวและก๊าซ ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของการไหล ดังนั้นข้อแนะนำจากข้างบน สามารถนำไปใช้งานกับของไหลสองสถานะได้
 ตำแหน่งของจุดต่อความดันควรจะต้องมีการพิจารณาในการวัดการไหลแบบสองสถานะ ดังตัวอย่างเช่น การวัดก๊าซจุดต่อควรจะอยู่ที่ตำแหน่งด้านบนท่อ

          ข้อสำคัญต้องมีการหลีกเลียงการกลั่นตัวในการใช้งานกับของไหลที่เป็นก๊าซและการเดือดในของเหลว ดังนั้นอาจมีความต้องการระบบ Heat Tracing และการหุ้มฉนวน

          การไหลเป็นจังหวะสำหรับของไหลสองสถานะจะมีความยากในการวัด ดังตัวอย่าง มีการปั๊มฟองอากาศเข้าไปใน Impulse Line สำหรับวัดของเหลวเป็นช่วงเวลา

          ตำแหน่งของเครื่องมือวัดในท่อแนวตั้งจะต้องมีการระมัดระวังเพราะว่าของไหลในตัวเครื่องมือวัดระหว่างจุดต่อทั้งสองมีความหนาแน่นที่แตกต่างกัน การแก้ไขสำหรับความแตกต่างในความสูงระหว่างจุดต่อทั้งสองต้องมีการคำนวณค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของไหลทั้งสองสถานะในท่อ ซึ่งจะมีความไม่แน่นอน ถึงแม้ว่ามีความตั้งใจที่ต้องการรู้สถานะของไหลใน Impulse Line เพียงสถานะเดียว ในการใช้งานจริงบางครั้งของไหลใน Impulse Line จะเป็นแบบสองสถานะ เป็นเรื่องยากที่จะทำให้เกิดของไหลสถานะเดียวใน Impulse Line สำหรับการใช้งานกับของไหลสองสถานะ

Impulse Line Purging
          สำหรับการวัดของไหลที่มีโอกาสเกิดการอุดตันขึ้นได้ การแก้ปัญหาการอุดตันใน Impulse Line ที่เป็นแบบฟองอากาศในของเหลวหรือของเหลวในก๊าซ สามารถทำได้โดยการใช้การชะล้างหรือไล่อย่างต่อเนื่อง (Purging) ตลอดทั้ง Impulse Line สามารถชะล้างอย่างต่อเนื่องด้วยก๊าซแห้งเพื่อให้ของเหลวหรือก๊าซออกไป และชะล้างด้วยของเหลวที่ไม่แข็งตัวเพื่อไล่ของไหลจากกระบวนการผลิตออกไป สิ่งสำคัญต้องชะล้างทั้งสองด้านให้เท่ากันหรือมีอัตราการไหลของการชะล้างที่เท่ากัน ดังแสดงในรูปที่ 8
อย่างไรก็ดีการใช้วิธีการรูปแบบนี้จะมีข้อเสียในการจัดเตรียมอุปกรณ์และระบบท่อเพิ่มเติมในการติดตั้งและต้องมีการควบคุมอัตราการไหลของการชะล้างให้มีค่าคงที่และมีค่าเท่ากัน จำเป็นต้องมีความแน่ใจว่าความดันสูญเสียไปเนื่องจากการไหลของการชะล้าง สามารถตัดทิ้งได้และอาจหมายความว่าต้องมีการเลือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ Impulse Line ให้ใหญ่ขึ้น มีข้อแนะนำว่าการชะล้างด้วยของเหลวอย่างต่อเนื่อง เป็นวิธีการหลีกเลี่ยงผลกระทบการปั๊มฟองอากาศเข้าไปยังของเหลวในการวัดการไหลสำหรับของไหลสองสถานะ

การต่อโดยตรง Close Coupling
          ในปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องมือวัดบางรายได้ทำการพัฒนาเครื่องมือวัดที่สามารถต่อเข้ากับจุดต่อความดันบนท่อโดยตรง ดังนั้นจึงเป็นการลดความต้องการ Impulse Line และความยาวจากจุดต่อวัดความดันไปยังเครื่องมือวัดได้ การจัดรูปแบบนี้มีข้อดีอย่างมากทำให้ระบบท่อหรือการติดตั้งมีความง่ายขึ้นและที่สำคัญ ช่วยลดจำนวนจุดต่อและลดจำนวนของจุดรั่วไหลตามข้อต่อเกลียวและข้อต่อต่าง ๆ

และยังลดความต้องการระบบ Heat Tracing และการหุ้มฉนวน และความผิดพลาดเนื่องจากความแตกต่างของความหนาแน่นของไหลใน Impulse Line ลดปัญหาการเกิดฟองอากาศหรือการกลั่นตัวเป็นของเหลวเมื่ออุณหภูมิสิ่งแวดล้อมภายนอกมีการเปลี่ยนแปลง การติดตั้งแบบนี้จะเหมาะสมกับการไหลเป็นจังหวะที่มีความต้องการระยะ Impulse Line ให้สั้นที่สุด

การติดตั้งโดยตรงยังช่วยให้มีความเร็วในการตอบสนอง อย่างไรก็ตามการติดตั้งรูปแบบมีความต้องการเครื่องมือวัดต้องมีขนาดเล็ก, อาจทำให้ไม่สะดวกในการปรับเทียบและไม่สะดวกสำหรับผู้ควบคุมกระบวนการผลิตในการอ่านค่าการวัด และอาจยังมีปัญหาเรื่องอุณหภูมิจากการไหลไปยังเครื่องมือวัด ซึ่งในปัจจุบันเครื่องมือวัดมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิต่ำกว่าสมัยก่อน การใช้ Impulse Line อาจเป็นสิ่งจำเป็น เมื่ออุณหภูมิในท่อมีค่าสูง แสดงการติดตั้งเครื่องมือวัดโดยตรงกับท่อดังรูปที่ 9 และ 10

0 comments:

Post a Comment