Home » » กลไกของบอลวาล์วควบคุมการไหลทางเดียว

กลไกของบอลวาล์วควบคุมการไหลทางเดียว

khe Tuesday, 11 October 2011 | 08:21

ขอขอบคุณสำหรับการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บสายของเราและเพื่อการศึกข้อมูลเกี่ยวกับ ก๊าซและประเภทของก๊าซต่างๆที่เราได้เขียนและจักทำเพื่อให้คนที่ใคร่ศึกษา เรียนรู้เกี่ยวก๊าซ ทางเราจะพยายามจักหาข้อมูลและวิธีใช้มาให้ทุกท่านได้ศึกษา หวังอย่างยิ่งว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ข้อมูลทุกท่าน





หน้าที่
ปิด-เปิด ควบคุมทิศทางการไหลของไอแก๊สที่ไหลมาจากถังแก๊สเพื่อเข้าไปสู่ระบบท่อแก๊ส หรือชุดมานิโฟด์ (Manifold) ซึ่งจะไหลไปในทิศทางเดียวจะไม่ไหลย้อนกลับ

คุณลักษณะพิเศษ
โครงสร้างภายในจะมี Check Valve อยู่ในตัวเพื่อป้องกันไม่ให้ไอแก๊สไหลย้อนกลับในกรณีที่เปิดวาล์วแบบทันทีทันใด

วาล์วนิรภัยแบบลดความดัน 


หน้าที่
เป็นวาล์วลดความดัน ในกรณีที่ความดันในท่อแก๊สสูงขึ้นมากกว่าความดันปกติที่รับได้ (ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดๆก็ตาม)

เมื่อ ความดันแก๊สในระบบท่อมี่ค่าสูงเกินกว่าค่าความดันระบาย ( Relief Pressure ) แก๊สจะถูกระบายออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อท่อแก๊ส
มาตรวัดความดัน

หน้าที่
วัดความดันแก๊สที่อยู่ในระบบท่อ


 บริเวณหน้าปัทม์จะบอกถึงปริมาณความดันที่วัดได้ ซึ่งจะมีช่วงการวัดที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ติดตั้งและหน่วยที่ วัดได้ โดยอ่านจากสเกลที่หน้าปัทม์ ซึ่งจะบอกเป็น:
- PSI (ปอนด์/ตารางนิ้ว)
- Bar (บาร์)
- Kgf/cm2 หรือ mmAq (มิลลิเมตรน้ำ)
เป็นต้น
บอลวาล์ว


 หน้าที่
ปิด-เปิดเพื่อควบคุมการไหลของแก๊ส

ลักษณะการติดตั้งใช้งาน
สามารถติดตั้งได้ทั้งแนวดิ่งและแนวนอน

บริเวณข้อต่อของวาล์วจะเป็นเกลียวในทั้งด้านแก๊สเข้าและออก

การติดตั้งวาล์วเข้ากับระบบท่อทำได้โดยการขันวาล์วเข้ากับท่อที่ต๊าฟเกลียวไว้

ขนาดของวาล์วที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
อุปกรณ์กรองลักษณะตัววาย

หน้าที่
กรองเศษสิ่งสกปรกต่างๆที่ติดอยู่ภายในระบบท่อ รวมไปถึงเศษกากซึ่งเกิดจากความสกปรกของเนื้อก๊าซ

ลักษณะการติดตั้งใช้งาน
จะ ถูกออกแบบให้ติดตั้งก่อนเข้าอุปกรณ์ Automatic Change-Over และเครื่องต้มแก๊ส (Vaporizer) เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกเข้าไปในอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งจะส่งผลให้อายุการใช้งานสั้นลงได้

0 comments:

Post a Comment