1. ให้สัญญาณเตือนภัย
2. กั้นเขตอันตราย ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้า หรือจัดให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องออกนอกเขต
3. เปิดวาล์วระบบน้ำหล่อเย็นหลังถัง
4. ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ขนาดเล็ก ควรใช้เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง
หรือชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำการฉีดตรงจุดที่ก๊าซรั่ว
หรือตรงฐานของเพลิง โดยการเข้าทางเหนือลม
6. พยายามเข้าไปหยุดการรั่วของก๊าซ โดยการปิดวาล์วต้นทางของจุดที่ก๊าซรั่ว
ควรสวมชุดผจญเพลิงพร้อมถุงมือ และเคลื่อนเข้าและออกอย่างระมัดระวัง
พร้อมทั้งมีการฉีดน้ำเป็นฉาก เพื่อกันความร้อน
7. ในกรณีที่ไม่สามารถหยุดการรั่วของก๊าซได้ ควรควบคุมไม่ให้เพลิงลุกลาม
ขยายใหญ่ขึ้น โดยการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา
- เพื่อลดความดันในถังและท่อ โดยเฉพาะส่วนบนของถังที่มีไอก๊าซอยู่
- เพื่อลดความร้อนของฐานถังไม่ให้ล้ม และอุปกรณ์ไม่ให้เกิดการแตก
ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ก๊าซรั่วมากขึ้น
- เพื่อลดอุณหภูมิบริเวณใกล้เคียง
8. ห้ามดับเพลิงที่กลอุปกรณ์นิรภัย ( Safety Relief Valve )
วิธีปฏิบัติเมื่อก๊าซรั่ว
1. ตรวจสอบและขจัดแหล่งต้นเพลิงบริเวณที่ก๊าซรั่ว
และห้ามเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด
2. กั้นเขตอันตราย และจัดให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกนอกบริเวณ
3. เตรียมเครื่องดับเพลิง, อุปกรณ์ผจญเพลิงให้พร้อมที่จะปฏิบัติงาน
4. พยายามให้ก๊าซเจือจางโดยการเปิดระบบน้ำหล่อเย็นหลังถัง
และฉีดน้ำบริเวณที่เกิดการรั่ว
5. หากทำได้ ให้ปิดวาล์วต้นทางหรือซ่อมแซมเพื่อยับยั้งการรั่ว ควรเข้าทางเหนือลม โดยมีชุดป้องกัน และอุปกรณ์ที่ใช้ต้องไม่มีประกายไฟ
6. ประเมินปริมาณก๊าซรั่ว และถ้าก๊าซรั่วออกนอกบริเวณ รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง
0 comments:
Post a Comment